วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้น  ครูจะต้องรู้จักการวิเคราะห์หลักสูตรว่าหลักสูตรนั้นเป็นอย่างไรเราจะต้องใช้วิธีสอนอย่างไรให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนการสอนรายวิชานั้นๆซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การวิเคราะห์ตัวผู้เรียนว่าผู้เรียนต้องการหรือชอบเทคนิควิธีการสอนของเราหรือไม่  การจัดกิจกรรมการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในสื่อการเรียนการสอนและการประเมินผลตามสภาพจริงการแก้ไขปรับปรุงและนำไปวิจัยว่าการจัดการเรียนการสอนของตนและผู้เรียนอยู่ในระดับดีแล้วหรือยัง
เมื่อดิฉันได้ลงมือปฎิบัติการเรียนการสอนดิฉันจะนำกิจกรรมทั้ง7ประเด็นมาใช้โดยการศึกษาหลักสูตรก่อนว่าเราจะต้องใช้วิธีการสอนอย่างไรที่จะให้ผู้เรียนมีความสนใจโดยวิเคราะห์จากผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะในปัจจุบันนี้หลักสูตรจะกำหนดให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่แล้วเมื่อเรากำหนดได้แล้วว่าผู้เรียนชอบเทคนิควิธีการสอนแบบใดเราก็จะต้องกำหนดกิจกรรมที่หลากหลายไม่ให้ผู้เรียนมีความเบื่อหน่ายในรายวิชานั้นๆและควรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนักเรียนได้ลงมือปฎิบัติจริงไม่ควรที่จะสอนแต่ทฤษฏีควรจะมีกิจกรรมอื่นแทรก ตัวอย่างกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเช่น กิจกรรมการใช้คำปริศนาเพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้คิดค้นและอยากรู้ว่าสิ่งที่กำหนดให้คืออะไร กิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนฯลฯ ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีก็เป็นสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ วิชวลไลเซอร์ เป็นต้น ครูทุกคนจะต้องใช้สอนนักเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในรายวิชาอื่นๆได้ เมื่อเรารู้หลักวิธีการสอนแล้วเราจะต้องวัดและประเมินผลว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด
แผนการแผนการจัดการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้  ภาษาไทย                                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
                                                               เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางภาษา  :  การเขียนแสดงความคิดเห็นและการเขียนโต้แย้ง
                       ใช้สอนวันที่  ๒๒   สิงหาคม ๒๕๕๑ จำนวน ๑ ชั่วโมง
                                                       ใช้สอนวันที่ ๒๕  สิงหาคม ๒๕๕๑               เนื่องจากนักเรียนเข้าค่ายลูกเสือ
………………………………………………..
  สาระสำคัญ
            กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความคิดเห็นของผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสารเข้าใจทำได้โดยการพูดและการเขียน ผู้ส่งสารจะสามารถสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจได้ต้องประมวลความรู้ ความคิดจากการอ่าน การดู และการฟังซึ่งเป็นประสบการณ์เดิมของผู้ส่งสาร กระบวนการเขียนที่สามารถทำให้ผู้รับสารเชื่อถือต้องมีข้อมูลหลักฐาน และเหตุผลประกอบอย่างชัดเจน ผู้เรียนจึงต้องหมั่นฝึกฝนการเขียนอยู่เสมอเพื่อพัฒนาตนเอง
  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            ๑.    รู้หลักและวิธีการเขียนโต้แย้ง
            ๒.   สามารถเขียนโต้แย้งได้
  สาระการเรียนรู้
            ๑.    ประเภทของการแสดงความคิดเห็น และหลักการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น
            ๒.   กระบวนการโต้แย้งและเขียนโต้แย้ง
  กิจกรรมการเรียนรู้
          ๑. ครูสรุปและอธิบายเพิ่มเติมหลักการเขียนแสดงความคิดเห็นและหลักการเขียนโต้แย้งและมารยาทในการเขียน แล้วให้นักเรียนจดบันทึกความรู้ย่อลงในสมุด
            ๒.   ให้นักเรียนทำแบบฝึกการเขียนแสดงความคิดเห็นและการเขียนโต้แย้งในใบงาน เรื่อง การเขียนแสดงความคิดเห็น และการเขียนโต้แย้ง แล้วนำเสนอผลงานโดยจัดแสดงที่ป้ายนิเทศเพื่อแลกเปลี่ยนกันอ่าน
  สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
            .    หนังสือเรียนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 
                   
  การวัดและประเมินผล
            ๑.    วิธีวัดและประเมินผล
-ตรวจใบงาน                                           
 -ประเมินการเขียนแสดงความคิดเห็น
            ๒.   เครื่องมือวัดและประเมินผล
-ใบงานและแบบประเมินใบงาน            
 -แบบประเมินการเขียนแสดงความคิดเห็น

กิจกรรมที่10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น

ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในประเด็นใด ๆ ก็ได้ลงในบล็อก


เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Bolg ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์
๑.    กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่๑๑ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อีสาน) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้ทรงจารึกปี  ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ" ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๗ ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา ๑ ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม ๕๐ ชุด แต่ละชุดมี ๑๑ แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดัง กล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ.  ๒๔๘๓ ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิด สงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด ๒๒ วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืน จังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และ พระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิด สงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน ๔ จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี         พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง
ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ และในปีต่อมา เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม ๑๓ คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม ๙ คน
กระทั่งวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง ๙ ต่อ ๓ และในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำ ภายในสิบปี หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิด สงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ปีต่อมาก็ถูก เขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๑
๒ กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด และกรูด ทะเลในอ่าวไทย
นายกษิต ภิรมย์  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคนเดียวที่เพิกถอนหนังสือ เดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทางการทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณ ทำร้ายประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศ ไทย จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่?
แต่ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาทพระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย  ๑.๕ ล้านไร่ ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้
นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า  ให้ทำหนังสือยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกอัน เป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใน เวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่างบังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีกต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่างขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า:
         “คิด ว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหารจะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปีแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆ
        เป็น ความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทรเวช อย่างไม่ผิดเพี้ยน! ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบ ปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว
นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทาง ทะเล เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า:
ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา(ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น
๓. กรณี MOU43 ของรัฐบาล นายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมรการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
นายชวน หลีกภัย ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
สาเหตุที่มีการทำ MOUดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง ๒ ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
"ผม" คิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าวว่ากองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร
4)  กรณี คนไทย ๗ คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์ (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก ๒ ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขต พื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นัก ศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ ๗ ม.ค. โดยอ้างหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ และสื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ที่ระบุว่า กอย เกือง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า การพิจารณาคดี  ๗ คนไทยที่ถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำดินแดนของกัมพูชานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้อง และถือเป็น "คนละประเด็น" กับเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย
โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยเรื่องดังกล่าวที่กรุงพนมเปญโดยยืนยันว่า กรณีของ๗ คนไทย ไม่ควรถูกนำมาโยงเป็นเรื่องเดียวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนบ้านทั้ง ๒ประเทศ เพราะถือเป็นคนละประเด็นที่ต้อง"แยก" ออกจากกัน พร้อมย้ำว่า ในเวลานี้ต้องปล่อยให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดยที่ฝ่ายอื่นยังไม่ควรเข้าไปก้าวล่วง
โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะร้องขอให้มีการอภัยโทษแก่คนไทยทั้ง ๗ คนในภายหลัง หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาความผิดของทั้งหมดออกมาแล้ว
ทั้งนี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง ๗ คนไทยอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลานานถึง ๑๘ เดือน

กิจกรรมที่9

ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9(โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)

โทรทัศน์ครูเรื่อง เรื่องการสร้างนิสิตปัญญาเลิศ(มศว)
ประเด็นสำคัญ ที่ได้จากการจัดการเรียนการสอนโทรทัศน์ครู   คือทางมหาวิทยาลัยต้องการที่จะผลิตครูพันธ์ใหม่และสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ  โดย การเปิดหลักสูตรสอนเด็กพิเศษ(เด็กอัจฉริยะ)ในหลักสูตรนี้จะเน้นเกี่ยวกับการ ปฏิบัติมากกว่าทฤษฎีให้นิสิตทุกคนมีความพร้อมด้วยการศึกษาพฤติกรรมของเด็ก ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
หากไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร  ครูอาชีพจะต้องออกแบบหลักสูตร เขียนแผนการสอน ออกแบบสื่อ ออกแบบกิจกรรม และร่วมในการวินิจฉัยวัดแววความสามารถให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษและครูจะต้องมี ความรู้ที่เข้มแข็ง มีเสาหลักที่มั่นคง มีการสืบทอดความรู้ทั้งรู้ลึกและรอบรู้
จะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  สามารถ นำมาเป็นแนวทางในการสอน ปรับนำมาใช้ให้เหาะสมกับตัวเอง และจะต้องมีความถนัด มีเทคนิคและวิธีการสอน ที่จะต้องดึงดูดให้ผู้เรียนมีความสนใจ เพื่อที่จะได้เผยแพร่ในสิ่งที่เราจะสอนนั้นให้เด็กนักเรียนได้เข้าใจในสิ่ง ที่เราสอน
การเป็นครูนั้นคือ ต้องรู้วิชาชีพของตนเองให้ลึกล้ำที่สุด มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ้งการรู้รอบจะช่วยให้เป็นครูที่ดีในอนาคต

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่8

ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร
       วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ  กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น เกิดจากการเชื่อมโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถาน และการกระทำของบุคคล ของกลุ่ม ขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เทคโนโลยี สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร  จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร
ลักษณะของวัฒนธรรมองค์กร
                ซึ่งมีแนวทางความคิดที่ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรของตนเองจากลักษณะต่อไปนี้
                  1.  เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคลากรในองค์กร บริษัท ห้างร้าน สำนักงาน ฯลฯ  เป็นระบบสังคมที่มีระบบที่แน่นอน
                  2. เป็นมรดกขององค์กร ถูกถ่ายทอดจากบุคคลรุ่นหนึ่งไปยังบุคคลอีกรุ่นหนึ่ง บุคคลอยู่ในสังคมใดก็เรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมนั้น  เป็นการสร้างความเจริญให้แก่วัฒนธรรมและสังคมมนุษย์ให้อยู่ในระดับสูงขึ้น             
     3.  เป็นที่รวบรวมของความคิด ความเชื่อ เจตคติ ตลอดจนค่านิยมขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์กร
                  4.  เป็นสิ่งที่คนในองค์กรเห็นว่ามีคุณค่าสูงสำหรับองค์กร  เป็นสินทรัพย์ขององค์กรที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้
                5.  เป็นสิ่งที่เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพขององค์กร และบุคลิกภาพของบุคลากรในองค์กรในระดับมหภาค
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
     กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
            1.การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปจากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยากหรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่าการเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรมเป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ  การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อยแต่ต้องใช้ระยะเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง     
  2.การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาวเพราะทุกอย่างชัดเจนทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัดบางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กรเปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วยเพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ 
                  แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
   เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ได้จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใชซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก  กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการและการออกกฎระเบียบเพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้นเมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

      อ้างอิง  http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=1111