การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้น ครูจะต้องรู้จักการวิเคราะห์หลักสูตรว่าหลักสูตรนั้นเป็นอย่างไรเราจะต้องใช้วิธีสอนอย่างไรให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนการสอนรายวิชานั้นๆซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การวิเคราะห์ตัวผู้เรียนว่าผู้เรียนต้องการหรือชอบเทคนิควิธีการสอนของเราหรือไม่ การจัดกิจกรรมการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในสื่อการเรียนการสอนและการประเมินผลตามสภาพจริงการแก้ไขปรับปรุงและนำไปวิจัยว่าการจัดการเรียนการสอนของตนและผู้เรียนอยู่ในระดับดีแล้วหรือยัง
เมื่อดิฉันได้ลงมือปฎิบัติการเรียนการสอนดิฉันจะนำกิจกรรมทั้ง7ประเด็นมาใช้โดยการศึกษาหลักสูตรก่อนว่าเราจะต้องใช้วิธีการสอนอย่างไรที่จะให้ผู้เรียนมีความสนใจโดยวิเคราะห์จากผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะในปัจจุบันนี้หลักสูตรจะกำหนดให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่แล้วเมื่อเรากำหนดได้แล้วว่าผู้เรียนชอบเทคนิควิธีการสอนแบบใดเราก็จะต้องกำหนดกิจกรรมที่หลากหลายไม่ให้ผู้เรียนมีความเบื่อหน่ายในรายวิชานั้นๆและควรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนักเรียนได้ลงมือปฎิบัติจริงไม่ควรที่จะสอนแต่ทฤษฏีควรจะมีกิจกรรมอื่นแทรก ตัวอย่างกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเช่น กิจกรรมการใช้คำปริศนาเพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้คิดค้นและอยากรู้ว่าสิ่งที่กำหนดให้คืออะไร กิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนฯลฯ ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีก็เป็นสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ วิชวลไลเซอร์ เป็นต้น ครูทุกคนจะต้องใช้สอนนักเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในรายวิชาอื่นๆได้ เมื่อเรารู้หลักวิธีการสอนแล้วเราจะต้องวัดและประเมินผลว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด
แผนการแผนการจัดการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางภาษา : การเขียนแสดงความคิดเห็นและการเขียนโต้แย้ง
ใช้สอนวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๑ จำนวน ๑ ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ เนื่องจากนักเรียนเข้าค่ายลูกเสือ
………………………………………………..
๑ สาระสำคัญ
กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความคิดเห็นของผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสารเข้าใจทำได้โดยการพูดและการเขียน ผู้ส่งสารจะสามารถสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจได้ต้องประมวลความรู้ ความคิดจากการอ่าน การดู และการฟังซึ่งเป็นประสบการณ์เดิมของผู้ส่งสาร กระบวนการเขียนที่สามารถทำให้ผู้รับสารเชื่อถือต้องมีข้อมูลหลักฐาน และเหตุผลประกอบอย่างชัดเจน ผู้เรียนจึงต้องหมั่นฝึกฝนการเขียนอยู่เสมอเพื่อพัฒนาตนเอง
๒ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. รู้หลักและวิธีการเขียนโต้แย้ง
๒. สามารถเขียนโต้แย้งได้
๓ สาระการเรียนรู้
๑. ประเภทของการแสดงความคิดเห็น และหลักการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น
๒. กระบวนการโต้แย้งและเขียนโต้แย้ง
๔ กิจกรรมการเรียนรู้
๑. ครูสรุปและอธิบายเพิ่มเติมหลักการเขียนแสดงความคิดเห็นและหลักการเขียนโต้แย้งและมารยาทในการเขียน แล้วให้นักเรียนจดบันทึกความรู้ย่อลงในสมุด
๒. ให้นักเรียนทำแบบฝึกการเขียนแสดงความคิดเห็นและการเขียนโต้แย้งในใบงาน เรื่อง การเขียนแสดงความคิดเห็น และการเขียนโต้แย้ง แล้วนำเสนอผลงานโดยจัดแสดงที่ป้ายนิเทศเพื่อแลกเปลี่ยนกันอ่าน
๕ สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
๖ การวัดและประเมินผล
๑. วิธีวัดและประเมินผล
-ตรวจใบงาน
-ประเมินการเขียนแสดงความคิดเห็น
๒. เครื่องมือวัดและประเมินผล
-ใบงานและแบบประเมินใบงาน
-แบบประเมินการเขียนแสดงความคิดเห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น