วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13


 
1.ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย)มีสุขนิสัยที่ดีในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคพฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสมเป็นที่ทราบกันดีว่าเด็กไทยเรามักจะมีปัญหาโภชนาการ(อาหาร)แบบไม่สมดุลคือ บางอย่างมากไปบางอย่างน้อยไปอาหารกลุ่มที่"มากไป" มักจะเป็นกลุ่มให้กำลังงาน(คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง-น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน) อาหารกลุ่มที่ "น้อยไป" มักจะเป็นกลุ่มผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) และแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียม กรมอนามัยจัดทำคำแนะนำง่ายๆ สำหรับเด็กไทย โดยการแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ง่ายๆ อ่านแล้วนำไปใช้ได้เลย ผู้ใหญ่ที่ออกแรง-ออกกำลังมากหน่อยก็นำคำแนะนำนี้ไปใช้ได้ แต่ถ้าออกแรง-ออกกำลังน้อย... ควรกินอาหารกลุ่ม "ข้าว-แป้ง" ให้น้อยลงหน่อย
และที่สำคัญก็คือเด็กไทยส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารเช้าทั้งที่อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดเมื้อหนึ่งโดยอาหารเช้าเป็นการ เติมพลังงานแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ อาหารเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่สุด เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ทำให้ไม่มีพลังงานไปเลี้ยงสมอง การละเลยอาหารเช้าจะทำให้หงุดหงิดอารมณ์เสียเครียดอ่อนเพลียไม่มีสมาธิโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กไม่ควรละเลยอาหารเช้าเพราะจะทำให้มีผลต่อการเรียนรู้และความจำโดยอาหารเช้าที่เหมาะสมควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน
2. ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัวมีปฏิทินการออกกำลังกายและได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาลแพทย์ไทยมักจะถาม คำถามว่ามีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่าหนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม)
น้อยมากในปัจจุบันนั้นการออกกำลังกายของเด็กไทยนั้นค่อนข้างจะน้อยมีบางส่วนที่ได้ออกกำลังกายบ้างในตอนเย็น เช่นการแตะฟุตบอลกับเพื่อนๆ เล่นแบดบินตัน นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น แต่ปัจจัยหลักก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น
1.  มีสนามรองรับไม่เพียงพอต่อการออกกำลังกาย
2. เด็กบางคนมุ่งแต่เรียนไม่คิดที่จะออกกำลังกาย
3. รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
3.เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิตการควบคุมอารมณ์หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ )
เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวรไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ  นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การที่โรงเรียนให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กพอๆกับการส่งเสริมด้านวิชาการนั้นก็เพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และมีการฝึกปฏิบัติที่นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการมีสุขภาพดี  โดยสอดแทรกไว้ทั้งในหลักสูตรการศึกษาและผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่(กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดีมีปัญหาทางครอบครัวรวมถึงมีผลการเรียนดีมากเกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอดซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
            สองสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนครูอาจทำความรู้จักกับเด็กได้มากพอสมควร อาจจะพอจำแนกออกมาได้ว่าเด็กคนนั้นๆ เป็นเด็กที่ควรจัดอยู่ในกลุ่มใด โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของเด็กจากการตั้งใจเรียนหรือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนของเด็กว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร จึงสามารถที่จะจำแนกออกมาได้ว่าเด็กคนนั้นๆควรจัดอยู่ในกลุ่มใด
6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) 
   ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจนโดยมีครูประจำชั้นเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง หรือบุคลากรภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากโรงเรียน เช่น กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อเป็นการเข้าไปพบปะพูดคุยสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนและสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในด้านต่างๆเท่าที่ทางโรงเรียนจะสามารถช่วยเหลือได้ เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล  เพื่อทราบเกี่ยวกับสภาพปัญหาของตัวนักเรียน และจะได้นำข้อมูลในกรณีที่นักเรียนเกิดปัญหามาวิเคราะห์และหาแนวทางช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาต่อไป
7)โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม)ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์การพัฒนาบุคลิกภาพการบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตฯลฯหรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
ทางโรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม)ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพการบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตโดยจะสอดแทรกเอาไว้ในกิจกรรมของวิชานั้นๆ ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ
8)โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นระยะอย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
จะมีการประเมินมาตรฐานด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นระยะ เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็ก และนำมาประเมินว่าโรงเรียนมีมาตรฐานด้านนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
9)โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกายสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อครูประจาชั้น และพ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
มีเพื่อนำมาใช้ในการสังเกตและประเมินนักเรียนว่ามีภาวะสุขภาพกายสุขภาพจิตเป็นเช่นไรจะได้ดำเนินการช่วยเหลือสนับสนุนหรือหาทางแก้ไขได้ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น